MY CALENDAR 51011411102

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมะ...รักษาใจยามป่วยไข้


ร่างกายและจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นคู่กันร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีย่อมคู่กับ จิตใจที่สุขสบายเรียกว่ามีความสุขใจ เมื่อร่างกายไม่สบายเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาการรุนแรงที่มีความเจ็บปวดถึงขั้นทน ทุกข์ทรมาน จิตใจก็ย่อมหงุดหงิด โมโหง่าย มีความกลัวตาย กังวลใจ หวาดระแวง ท้อแท้ หดหู่ ทำให้หน้าตาหม่นหมองผิวพรรณไม่สดชื่น หมดกำลังใจจนเบื่อข้าวปลาอาหารได้สิ่งเหล่านี้คือความทุกข์
การที่เราจะรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์เมื่อร่างกายผจญกับโรคภัยไข้เจ็บนั้น เป็นเรื่องยาก แต่ก็มียาขนานวิเศษที่รักษาได้ สิ่งนั้นคือพระคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องของการเจ็บป่วยนี้ ท่านได้ตรัสสอนไว้ว่า “ ถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ถ้าใจเราไม่ป่วยเราก็จะมีกำลังใจต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้ ซึ่ง การที่ใจไม่ยอมป่วยนี้เรียกว่า ความมีสติ คือทำใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความทุกข์ ความแปรปรวนของร่างหาย ดั้งนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา ดังนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา เราเองก็ควรรักษาใจของเราไปพร้อมกันด้วย
การรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์นั้น ต้องมีการฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง มีสติ เพื่อให้จิตตั้งมั่น จะได้ไม่อ่อนแอหรือหงุดหงิด วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือ การเอาจิตไปผูกพันกับสิ่งที่เราเคารพและศรัทธา เพื่อให้จิตใจมีสิ่งยึดเหนี่ยว เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออกแล้วท่องคำว่า พุทโธ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องกับตลอดเวลา จิตก็จะไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น การทำเช่นนี้มีประโยชน์เพราะเมื่อจิตมีสิ่งยึดเหนี่ยวก็จะมีความสงบมั่นคง เป็นจิตที่ไม่ฟุ้งว่านและไม่เศร้าหมอง มีแต่ความเบิกบานผ่องใส
ความทุกข์ใจนั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติก็จริง แต่เราสามารถดับความทุกข์ได้โดยการคุมสติให้มั่น ดังที่กล่าวมาแล้วถ้าหากเราได้ฝึกทำบ่อย ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองเพราะชีวิตของคนเราในวันหนึ่ง ๆ มีโอกาสที่จะพบกับปัญหาและเรื่องทุกข์ใจอย่างมากมาย ไม่ใช่แต่เรืองความเจ็บป่วยเท่านั้น ดังนั้นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งไว้จึงเป็นเรื่องที่ดีเพราะเมื่อมีเหตุมากระ ทบไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือร้ายแรงเพียงใด จิตใจก็จะมีความมั่นคงทำให้เราปรับตัวได้ และถ้าเราได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำ ผู้เขียนขอส่งกำลังใจให้ผู้ที่เจ็บป่วยทางร่างกายทุกคน ได้ยึดเอาธรรมมะเพื่อฝึกเอาชนะจิตใจให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้สำเร็จ และให้มีจิตใจที่มั่นคง ผ่องใสตลอดไป
ร่างกายและจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นคู่กันร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีย่อมคู่กับ จิตใจที่สุขสบายเรียกว่ามีความสุขใจ เมื่อร่างกายไม่สบายเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาการรุนแรงที่มีความเจ็บปวดถึงขั้นทน ทุกข์ทรมาน จิตใจก็ย่อมหงุดหงิด โมโหง่าย มีความกลัวตาย กังวลใจ หวาดระแวง ท้อแท้ หดหู่ ทำให้หน้าตาหม่นหมองผิวพรรณไม่สดชื่น หมดกำลังใจจนเบื่อข้าวปลาอาหารได้สิ่งเหล่านี้คือความทุกข์
การที่เราจะรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์เมื่อร่างกายผจญกับโรคภัยไข้เจ็บนั้น เป็นเรื่องยาก แต่ก็มียาขนานวิเศษที่รักษาได้ สิ่งนั้นคือพระคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องของการเจ็บป่วยนี้ ท่านได้ตรัสสอนไว้ว่า “ ถึงแม้ร่างกายเราจะป่วย แต่ถ้าใจเราไม่ป่วยเราก็จะมีกำลังใจต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้ ซึ่ง การที่ใจไม่ยอมป่วยนี้เรียกว่า ความมีสติ คือทำใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความทุกข์ ความแปรปรวนของร่างหาย ดั้งนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา ดังนั้น ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาร่างกายของเรา เราเองก็ควรรักษาใจของเราไปพร้อมกันด้วย
การรักษาใจไม่ให้เป็นทุกข์นั้น ต้องมีการฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง มีสติ เพื่อให้จิตตั้งมั่น จะได้ไม่อ่อนแอหรือหงุดหงิด วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือ การเอาจิตไปผูกพันกับสิ่งที่เราเคารพและศรัทธา เพื่อให้จิตใจมีสิ่งยึดเหนี่ยว เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออกแล้วท่องคำว่า พุทโธ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องกับตลอดเวลา จิตก็จะไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น การทำเช่นนี้มีประโยชน์เพราะเมื่อจิตมีสิ่งยึดเหนี่ยวก็จะมีความสงบมั่นคง เป็นจิตที่ไม่ฟุ้งว่านและไม่เศร้าหมอง มีแต่ความเบิกบานผ่องใส
ความทุกข์ใจนั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติก็จริง แต่เราสามารถดับความทุกข์ได้โดยการคุมสติให้มั่น ดังที่กล่าวมาแล้วถ้าหากเราได้ฝึกทำบ่อย ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองเพราะชีวิตของคนเราในวันหนึ่ง ๆ มีโอกาสที่จะพบกับปัญหาและเรื่องทุกข์ใจอย่างมากมาย ไม่ใช่แต่เรืองความเจ็บป่วยเท่านั้น ดังนั้นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งไว้จึงเป็นเรื่องที่ดีเพราะเมื่อมีเหตุมากระ ทบไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือร้ายแรงเพียงใด จิตใจก็จะมีความมั่นคงทำให้เราปรับตัวได้ และถ้าเราได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำ ผู้เขียนขอส่งกำลังใจให้ผู้ที่เจ็บป่วยทางร่างกายทุกคน ได้ยึดเอาธรรมมะเพื่อฝึกเอาชนะจิตใจให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้สำเร็จ และให้มีจิตใจที่มั่นคง ผ่องใสตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น